Assumption University

Quelle heure est-il????

++ My musiC ++

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

เบรนพอร์ต ช่วยคนตาบอดมองเห็นผ่าน ‘ลิ้น’

เดลิเมล์ – นักวิจัยเมืองลุงแซมพัฒนาอมยิ้มอิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยให้คนตาบอด ‘มองเห็น’ ผ่าน ‘ลิ้น’ คาดนำออกจำหน่ายได้ปลายปีนี้
นวัตกรรมนี้จะแปลงภาพที่กล้องขนาดจิ๋วจับเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ลิ้นสามารถรู้สึกได้ จากนั้น เส้นประสาทจะส่งข้อความไปยังสมองที่จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับมาเป็นภาพอีกครั้ง
หลังจากทดลองใช้เพียงวันเดียว อาสาสมัครสามารถมองเห็นรูปทรง ความเคลื่อนไหว และอ่านป้ายสัญญาณได้ บางคนใช้เวลาฝึกแค่ 15 นาทีเท่านั้น
อุปกรณ์ ‘เบรนพอร์ต’ ที่คาดว่าจะสามารถนำออกจำหน่ายได้ปลายปีนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแทนที่สุนัขนำทางหรือไม้เท้า แต่จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อยกระดับชีวิตของผู้มีปัญหาสายตา
ดร.วิลเลียม ไซเปิล จากไลท์เฮาส์ อินเตอร์เนชันแนล องค์กรวิจัยและส่งเสริมสุขภาพดวงตา ที่ทำการทดสอบอุปกรณ์นี้ เล่าว่าอาสาสมัครตาบอดสี่คนเรียนรู้วิธีค้นหาประตูทางออกและปุ่มบนลิฟต์ เลือกหยิบมีด ส้อมและถ้วยกาแฟบนโต๊ะอาหาร อ่านตัวหนังสือและตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว
“ตอนแรกผมยังงงๆ ว่าเบรนพอร์ตจะทำอะไรได้ จนกระทั่งอาสาสมัครคนหนึ่งร้องไห้ออกมาหลังจากมองเห็นตัวหนังสือครั้งแรก”
โรเบิร์ต เบ็กแมน จากไวแค็บ ผู้พัฒนาเบรนพอร์ต อธิบายว่า “อุปกรณ์นี้ช่วยให้คนตาบอดได้รับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวที่ปรากฏบนลิ้น ช่วยให้คนตาบอดสามารถระบุสิ่งของ เช่น ลูกบอล หรือสังเกตเห็นตัวหนังสือหรือตัวเลข อาจไม่ถึงขั้นอ่านหนังสือได้ แต่พวกเขาจะสามารถอ่านป้ายสัญญาณได้”
เบรนพอร์ตประกอบด้วยกล้องวิดีโอขนาดจิ๋วที่ซ่อนอยู่ในแว่นกันแดดที่ผู้ใช้สวม สัญญาณจากกล้องจะถูกส่งผ่านสายเคเบิลไปยังอุปกรณ์ควบคุมแบบพกพาขนาดพอๆ กับโทรศัพท์มือถือ จากนั้นอมยิ้มที่อยู่บนลิ้นจะแปลงสัญญาณนั้นออกมาเป็นรูปทรง
ทั้งนี้ อุปกรณ์ควบคุมจะแปลงภาพเป็นภาพสีขาว-ดำ-เทาความละเอียดต่ำ ซึ่งจะถูกนำกลับมาสร้างใหม่เป็นตารางขั้วอิเล็กโทรด 400 ขั้ว ขนาดใกล้เคียงกับสแตมป์ บนอมยิ้ม
ขั้วอิเล็กโทรดแต่ละขั้วจะสั่นตามปริมาณแสง ณ จุดนั้นของภาพ สีขาวจะสั่นแรงที่สุด สีเทาสั่นอ่อนๆ ส่วนสีดำไม่มีสัญญาณใดๆ เลย
อุปกรณ์ควบคุมช่วยให้ผู้ใช้ซูมเข้า-ออก ปรับคอนทราสต์ของภาพและความแรงของสัญญาณการสั่น
แม้เริ่มแรกผู้ใช้ ‘รู้สึก’ ถึงภาพบนลิ้น แต่หลังจากฝึกใช้ จะสามารถเรียนรู้การกระตุ้นให้สัญญาณนั้นทำงานในส่วน ‘ภาพ’ ในสมอง
“เป็นภารกิจในการเรียนรู้ ซึ่งไม่ต่างจากการเรียนรู้วิธีขี่จักรยาน และคล้ายกับวิธีที่ทารกเรียนรู้ในการมองเห็น” เอมี อาร์โนลดัสเซน นักประสาทวิทยาศาสตร์ของไวแค็บที่ตั้งอยู่ในวิสคอนซิน สหรัฐฯ บอก
ขณะนี้ ไวแค็บกำลังยื่นเรื่องขออนุญาตจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ เพื่อนำเบรนพอร์ตออกจำหน่าย ซึ่งคาดว่าขั้นตอนนี้จะลุล่วงก่อนสิ้นปี โดยบริษัทมีแผนตั้งราคาอุปกรณ์พิเศษนี้ไว้ที่เครื่องละ 6,000 ปอนด์ (336,000 บาท)

เดลิเมล์ – นักวิจัยเมืองลุงแซมพัฒนาอมยิ้มอิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยให้คนตาบอด ‘มองเห็น’ ผ่าน ‘ลิ้น’ คาดนำออกจำหน่ายได้ปลายปีนี้


นวัตกรรมนี้จะแปลงภาพที่กล้องขนาดจิ๋วจับเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ลิ้นสามารถรู้สึกได้ จากนั้น เส้นประสาทจะส่งข้อความไปยังสมองที่จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับมาเป็นภาพอีกครั้ง


หลังจากทดลองใช้เพียงวันเดียว อาสาสมัครสามารถมองเห็นรูปทรง ความเคลื่อนไหว และอ่านป้ายสัญญาณได้ บางคนใช้เวลาฝึกแค่ 15 นาทีเท่านั้น


อุปกรณ์ ‘เบรนพอร์ต’ ที่คาดว่าจะสามารถนำออกจำหน่ายได้ปลายปีนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแทนที่สุนัขนำทางหรือไม้เท้า แต่จะเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อยกระดับชีวิตของผู้มีปัญหาสายตา


ดร.วิลเลียม ไซเปิล จากไลท์เฮาส์ อินเตอร์เนชันแนล องค์กรวิจัยและส่งเสริมสุขภาพดวงตา ที่ทำการทดสอบอุปกรณ์นี้ เล่าว่าอาสาสมัครตาบอดสี่คนเรียนรู้วิธีค้นหาประตูทางออกและปุ่มบนลิฟต์ เลือกหยิบมีด ส้อมและถ้วยกาแฟบนโต๊ะอาหาร อ่านตัวหนังสือและตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว


“ตอนแรกผมยังงงๆ ว่าเบรนพอร์ตจะทำอะไรได้ จนกระทั่งอาสาสมัครคนหนึ่งร้องไห้ออกมาหลังจากมองเห็นตัวหนังสือครั้งแรก”


โรเบิร์ต เบ็กแมน จากไวแค็บ ผู้พัฒนาเบรนพอร์ต อธิบายว่า “อุปกรณ์นี้ช่วยให้คนตาบอดได้รับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวที่ปรากฏบนลิ้น ช่วยให้คนตาบอดสามารถระบุสิ่งของ เช่น ลูกบอล หรือสังเกตเห็นตัวหนังสือหรือตัวเลข อาจไม่ถึงขั้นอ่านหนังสือได้ แต่พวกเขาจะสามารถอ่านป้ายสัญญาณได้”


เบรนพอร์ตประกอบด้วยกล้องวิดีโอขนาดจิ๋วที่ซ่อนอยู่ในแว่นกันแดดที่ผู้ใช้สวม สัญญาณจากกล้องจะถูกส่งผ่านสายเคเบิลไปยังอุปกรณ์ควบคุมแบบพกพาขนาดพอๆ กับโทรศัพท์มือถือ จากนั้นอมยิ้มที่อยู่บนลิ้นจะแปลงสัญญาณนั้นออกมาเป็นรูปทรง


ทั้งนี้ อุปกรณ์ควบคุมจะแปลงภาพเป็นภาพสีขาว-ดำ-เทาความละเอียดต่ำ ซึ่งจะถูกนำกลับมาสร้างใหม่เป็นตารางขั้วอิเล็กโทรด 400 ขั้ว ขนาดใกล้เคียงกับสแตมป์ บนอมยิ้ม


ขั้วอิเล็กโทรดแต่ละขั้วจะสั่นตามปริมาณแสง ณ จุดนั้นของภาพ สีขาวจะสั่นแรงที่สุด สีเทาสั่นอ่อนๆ ส่วนสีดำไม่มีสัญญาณใดๆ เลย


อุปกรณ์ควบคุมช่วยให้ผู้ใช้ซูมเข้า-ออก ปรับคอนทราสต์ของภาพและความแรงของสัญญาณการสั่น


แม้เริ่มแรกผู้ใช้ ‘รู้สึก’ ถึงภาพบนลิ้น แต่หลังจากฝึกใช้ จะสามารถเรียนรู้การกระตุ้นให้สัญญาณนั้นทำงานในส่วน ‘ภาพ’ ในสมอง


“เป็นภารกิจในการเรียนรู้ ซึ่งไม่ต่างจากการเรียนรู้วิธีขี่จักรยาน และคล้ายกับวิธีที่ทารกเรียนรู้ในการมองเห็น” เอมี อาร์โนลดัสเซน นักประสาทวิทยาศาสตร์ของไวแค็บที่ตั้งอยู่ในวิสคอนซิน สหรัฐฯ บอก


ขณะนี้ ไวแค็บกำลังยื่นเรื่องขออนุญาตจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ เพื่อนำเบรนพอร์ตออกจำหน่าย ซึ่งคาดว่าขั้นตอนนี้จะลุล่วงก่อนสิ้นปี โดยบริษัทมีแผนตั้งราคาอุปกรณ์พิเศษนี้ไว้ที่เครื่องละ 6,000 ปอนด์ (336,000 บาท)

ไม่มีความคิดเห็น: