Assumption University

Quelle heure est-il????

++ My musiC ++

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องลี้ลับในสถาบัน : รุ่นพี่ที่แอบชอบ..

รื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อสมัยฉันเรียนอยู่ม.4 โรงเรียนในย่านปริมณฑล ซึ่งเป็นอดีตโรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัด ในตอนนั้นมีรุ่นพี่ม.6 ในโรงเรียนเสียชีวิตไป1คน และรุ่นพี่คนนี้แกชอบเล่นบาสเอามากๆ ฉันเองชอบแอบมองพี่เขาอยู่บ่อยๆ เพราะพี่เขาหน้าตาดีมาก และเป็นขวัญใจของรุ่นน้องในโรงเรียนแทบทุกคน

พี่เขาเป็นคนเรียนเก่งมาก
และเหมือนเขารู้ว่าฉันกำลังแอบมองเขาอยู่ และจากนั้นไม่นานพี่เขาก็โดนรถชนที่หน้าโรงเรียน หลังจากได้ข่าวว่าพี่เขาเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ฉันเองตกใจมาก อึ้งเลยทีเดียว เพราะเมื่อวันก่อนพี่เขายังเข้ามาคุยกับฉันอยู่เลย และอีกไม่กี่อาทิตย์เรื่องที่ชวนขนหัวลุกมันก็เกิดขึ้นกับฉัน..

ฉันเองก็เป็นนักกีฬาของโรงเรียน ซึ่งก็ต้องอยู่ซ้อมจนถึงเย็น หรือมืดเลย และตึกที่น่ากลัวที่สุดของโรงเรียนก็คงไม่พ้น "ตึกวิทยาศาสตร์" เป็นตึกที่มีเรื่องเล่ามากมายสารพัด ฉันเองก็ไม่อยากจะเก็บเอามาคิดตอนนั้น และโรงยิมก็อยู่ตึกเดียวกับตึกวิทย์ซะด้วย ฉันเดินออกจากโรงยิมเพื่อที่จะอาบน้ำ ห้องน้ำตรงโรงยิมเกิดใช้ไม่ได้อีก ฉันเลยต้องเดินลงมาเข้าห้องน้ำอีกชั้นนึง

ตอนนั้นเป็นเวลาเกือบจะ
1ทุ่ม ฟ้ามืดแล้ว ไฟในอาคารต่างก็เริ่มถูกปิดลงทีละดวง ฉันเดินเข้าห้องน้ำเพื่อที่จะอาบน้ำ ห้องน้ำมีอยู่ 2 ห้อง มีฉันเพียงคนเดียวที่อยู่ในห้องน้ำนั้น เมื่ออาบเสร็จ เสียงฝักบัวต่างเงียบกริบ ฉันรีบใส่เสื้อผ้าเพื่อที่จะรีบกลับบ้าน แต่อีกไม่นาน...สิ่งที่ฉันได้ยิน คือเสียงก๊อกน้ำที่เปิดอยู่ตรงอ่างล้างหน้า

ฉันคิดในใจว่ายังมีคนเพิ่งซ้อมกีฬาเหลืออยู่นอกจากฉันอีกเหรอ
? ฉันตะโกนออกไป "ใครเหรอ" แต่ไม่มีเสียงตอบกลับมา ฉันค่อยๆเปิดประตูออกมาดู แต่ก็ไม่มีใครยืนอยู่ตรงนั้น แถมก๊อกน้ำก็ถูกเปิดอยู่ ฉันเดินไปปิดก๊อกน้ำแล้วเริ่มมองซ้ายมองขวา มองเข้าไปในกระจกมีแต่ฉันเท่านั้นที่อยู่ในห้องน้ำ แล้วใครล่ะมาเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้เล่นๆแบบนี้

คราวนี้ฉันเริ่มรู้สึกหวั่นๆขนเริ่มลุกชูชันขึ้นมาแล้ว
ฉันรีบวิ่งกลับขึ้นไปบนห้องพักนักกีฬาเพื่อเก็บของกลับบ้าน ในห้องพักก็ไม่มีใครอีกเลยนอกจากฉันคนเดียวเท่านั้น ฉันรีบเก็บข้าวของใส่กระเป๋าทันที แล้วรีบเดินออกจากห้องพักโดยเร็ว ในโรงยิมว่างเปล่าไม่มีแม้แต่เงาคน ถูกปิดไฟมืดไปหมด และเมื่อฉันกำลังล็อคห้องพักอยู่นั้นเอง มีเสียงเดาะลูกบาสดังออกมาจากโรงยิม ตุ่บ...ตุ่บ...ตุ่บ

ฉันมองเข้าไป
เพราะสงสัยว่าดึกป่านนี้ยังมีนักเรียนคนไหนมาเล่นบาสอยู่อีกเหรอ ฉันเปิดประตูโรงยิมเพื่อเข้าไปเปิดไฟ ก็เห็นแต่ลูกบาสที่เพิ่งถูกเดาะกำลังกลิ้งมาทางที่ฉันยืน ฉันมองตามลูกบาสลูกนั้น มองไปรอบๆโรงยิม แล้วฉันก็ได้เจอสิ่งๆหนึ่งที่ทำให้ฉันถึงกับผงะ และตาค้าง ฉันเห็นผู้ชายใส่ชุดนักเรียนเลือดท่วมตัว ยืนยิ้มให้ฉันอยู่ตรงแป้นบาส

ฉันไม่รออะไรอีกต่อไปแล้ว
ฉันคิดว่าวินาทีนั้นฉันคงต้องวิ่งสุดชีวิตแล้วล่ะ เช้าวันต่อมา ฉันตื่นสายจนทำให้มาเรียนไม่ทัน แต่ฉันก็ไม่ลืมเรื่องเมื่อวานที่ฉันเห็นได้เลย ฉันเล่าให้อาจารย์พละฟัง แต่ก็เหมือนกับไม่มีใครเชื่อฉันซักคน

จนมีพี่ม
.6 ที่เป็นเพื่อนกับรุ่นพี่ที่ตาย เข้ามาบอกกับฉันว่า "เพื่อนพี่ที่ตาย มันชอบน้องมานานแล้วแต่มันไม่มีโอกาสบอก มันมาเข้าฝันให้พี่มาบอกน้องนี่แหละ มันมาหาน้องหรือยังล่ะ" ฉันยืนนิ่งไม่พูดอะไรกับพี่คนนั้น เพราะฉันรู้แล้วว่าสิ่งที่ฉันเห็นเมื่อวานนี้ที่โรงยิม ต้องเป็นรุ่นพี่ที่ฉันชอบเขาอยู่แน่ๆ และหลังจากวันนั้นฉันก็ไม่กล้าออกจากโรงยิม ตอนมืดอีกเลย..

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

เห็นยัง ! กระดาษคำตอบ O-NET ปีนี้

สวัสดีครับ.. ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่ยากจะลืมเลือนจริงๆ สำหรับข้อสอบโอเน็ต 2552 ที่มางวดนี้แปลงร่างเปลี่ยนโฉมใหม่ [ในบางวิชา] ล่าสุด สทศ. กลัวเด็กจะปรับตัวไม่ทันเลยเร่งเปิดเผยกระดาษคำตอบมาให้ได้ทำความเข้าใจกันก่อน ดูไปดูมา นึกว่าข้อสอบ GAT กลับชาติมาเกิดซะงั้นอะ ว่าแต่จะเป็นอย่างไรไปดูกันนนน

>>> วิชาภาษาไทย [สอบ อา.21 ก.พ.53]
ถือเป็นวิชาเดียวที่คงแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จำนวนข้อสอบมี 100 ข้อ 100 คะแนน โดยแบบระบายตัวเลือกยังให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ข้อละ 1 คะแนน


+++ วิชาภาษาไทย เป็นคำตอบแบบช้อยส์ 4 ตัวเลือก 100 ข้อ แบบนี้คุ้นกันดี +++

>>> วิชาสังคมศึกษา [สอบ ส.20 ก.พ.53]
เปลี่ยนนิดๆ ให้พอตื่นเต้นสำหรับวิชาสังคมศึกษา มีจำนวนคำถาม 100 ข้อ 100 คะแนนเช่นกัน สิ่งที่ให้จับตามากที่สุดคือคำถามส่วนที่ 2


+++ วิชาสังคมศึกษา ส่วนที่ 1 เป็นคำตอบแบบช้อยส์ 4 ตัวเลือก 50 ข้อ +++


+++ วิชาสังคมศึกษา ส่วนที่ 2 ตัวเลือกแต่ละข้อมีมากกว่า 1 คำตอบ 50 ข้อ +++

>>> วิชาภาษาอังกฤษ [สอบ ส.20 ก.พ.53]
ขอเป็นลม 200 รอบ เพราะโอเน็ตภาษาอังกฤษปีนี้ เปลี่ยนซะจนตั้งหลักเกือบไม่ทัน ข้อสอบรวมมีทั้งหมด 70 ข้อ 70 คะแนน พาร์ท 1 และ 2 คงต้องทำความเข้าใจดีๆ ลำพังแปลก็ไม่ออกอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอแบบนี้ขอให้โชคดีทุกคนนะคร๊าบ


+++ วิชาภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 1 แต่ละข้อจะมีคำถาม 2 คำถามที่สัมพันธ์กัน
ต้องเลือกคำตอบสำหรับคำถามทั้ง 2 ข้อให้ถูกต้อง หากข้อใดข้อหนึ่งตอบผิด จะไม่ได้คะแนน +++


+++ วิชาภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 2 โจทย์แต่ละข้อมี 4 ส่วน (ABCD) ให้เลือกส่วนที่ผิด
และเลือกคำตอบที่แก้ไขจากกลุ่ม ABCD เพียงคำตอบเดียว+++


+++ วิชาภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 3 เป็นช้อยส์ 4 ตัวเลือก โอ้ๆๆ นึกว่าจะไม่มีซะแล้ว +++


>>> วิชาคณิตศาสตร์ [สอบ ส.20 ก.พ.53]
เป็นวิชาที่มีจำนวนข้อน้อยที่สุด เพียง 40 ข้อ 40 คะแนนขาดตัว แต่ปีนี้นอกจากจะมีคำตอบ 4 ตัวเลือกให้ตอบแล้ว ยังมีแบบปรนัยให้คำนวณกันอีกด้วย สู้ๆๆ


+++ วิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่ 1 ช้อยส์ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อครับ +++


+++ วิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่ 2 ถามเป็นอัตนัย คิดได้เท่าไหร่ ก็ฝนตามนั้นเลย +++


>>> วิชาวิทยาศาสตร์ [สอบ อา.21 ก.พ.53]
ปาดเหงื่ออีกรอบกับวิชานี้ ที่มาแนวใหม่แต่ปวดใจคนสอบ แนะนำให้จับตาดีกับพาร์ทที่ 2 ภาพรวมวิชานี้มี 86 ข้อ 80 คะแนน


+++ วิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนที่ 1 ช้อยส์ 4 ตัวเลือกจำนวน 68 ข้อครับ +++


+++ วิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนที่ 2 เป็นชุดคำถาม 3 ข้อ แต่ละชุดต้องทำถูกทั้ง 3 ข้อถึงได้คะแนน +++


>>> วิชาสุขศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพ [สอบ อา.21 ก.พ.53]
ในอดีตเป็นวิชาที่ง่ายที่สุด แต่ปีนี้คงไม่ใช่แบบนั้นแล้ว แต่เชื่อน้องๆ ที่ผ่านมาสนามสอบ GAT และ PAT 5 มาแล้วคงทำได้ สบายมาก [หรือเปล่า]


+++ วิชาสุขศึกษา ช้อยส์ 4 ตัวเลือกจำนวน 50 ข้อ 50 คะแนนครับ +++


+++ วิชาศิลปะ ส่วนแรกช้อยส์ 4 ตัวเลือก ส่วนที่สองระบายคำตอบแบบสัมพันธ์กัน +++


+++ วิชาการงานอาชีพฯ ส่วนแรกช้อยส์ 4 ตัวเลือก ส่วนที่สองระบายคำตอบแบบสัมพันธ์กัน +++

--> http://www.dek-d.com/content/admissions/18546/เห็นยัง-กระดาษคำตอบ-O-NET-ปีนี้.htm <---

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

วางตุ๊กตารับตรง จัดระบบมหา'ลัย คาดทันใช้ปี 54

วางตุ๊กตารับตรง จัดระบบมหา'ลัย คาดทันใช้ปี 54 "สุเมธ" เผยตุ๊กตารับตรงแบบใหม่ แก้ปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ เตรียมเสนอ ครม.ออกระเบียบสำนักนายกฯ มีอำนาจบริหารจัดการ และมหา'ลัยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการกำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้วยระบบรับตรงว่า ขณะนี้คณะกรรมการกำหนดรูปแบบการคัดเลือกได้วางกรอบการทำงาน พร้อมวางตุ๊กตาเบื้องต้นแล้ว โดยอาจจะมีการจัดตั้งองค์กรกลางมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานการรับตรงให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จะมารับสมัครนักเรียนให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่จะสมัครเข้ารับตรงไม่ต้องไปวิ่งรอกสมัครด้วยตนเองเหมือนปัจจุบันนี้ โดยองค์กรกลางจะรวบรวมข้อมูลการรับของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองได้ใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมตัวและตัดสินใจในการรับตรง

ดร.สุเมธกล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการดำเนินการ องค์กรกลางจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาการสมัครครั้งเดียวพร้อมกันทั่วประเทศ และให้มหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขการรับนักศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ให้เด็กสอบน้อยที่สุดหรือไม่ต้องสอบเลย โดยมหาวิทยาลัยอาจจะใช้องค์ประกอบการคัดเลือก เช่น คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET การทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT และมหาวิทยาลัยอาจจะสอบวิชาอื่นๆ เพิ่มเติม หรือจะสอบสัมภาษณ์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้จะต้องมีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้องค์กรกลางมีอำนาจในการจัดการ มีงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่องค์กรกลางกำหนดขึ้นด้วย

"ส่วนการสมัครนั้นเด็กสามารถยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานได้ที่องค์กรกลาง โดยเด็กเลือกสมัคร 5 สาขา/สถาบัน ตามลำดับความต้องการมาที่องค์กรกลางพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและเงื่อนไขเบื้องต้น ก่อนประมวลข้อมูลส่งให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งที่ผู้สมัครเลือก โดยรัฐจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสมัครให้ และเมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจรับเด็กแล้วก็จะส่งรายชื่อเด็กกลับมายังองค์กรกลาง เพื่อองค์กรกลางจะได้แจ้งข้อมูลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทราบ เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน ทั้งนี้ การคัดเลือกในรอบแรกหากมีที่นั่งเหลือ ให้ผู้สมัครที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกยื่นแสดงความต้องการสาขา/สถาบันได้เป็นครั้งที่ 2 แต่จะไม่เกิน 3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผมขอย้ำว่าข้อมูลนี้ยังไม่เป็นข้อยุติ เป็นเพียงตุ๊กตาเท่านั้น จากนี้จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากนักเรียน ผู้ปกครองและมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนเมษายน 2553 และคาดว่าอาจใช้ได้ทันในปีการศึกษา 2554" ดร.สุเมธกล่าว.



ขอบคุณ : ไทยโพสต์ 23 ธ.ค.2552